ข้ามไปเนื้อหา

สาธารณรัฐบานัต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐบานัต

1918–1919
ธงชาติบานัต
ธงที่ใช้ระหว่างการประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐ
ดินแดนอ้างสิทธิ์เทียบกับพรมแดนในปัจจุบัน
สถานะรัฐที่ไม่ได้รับการรับรอง
รัฐบริวารของสาธารณรัฐประชาชนฮังการี (ค.ศ. 1918)
รัฐบริวารของราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน (ค.ศ. 1918–1919)
เมืองหลวงตีมีชออารา
ภาษาทั่วไปที่ใช้ปกติ:
เยอรมันแบบออสเตรีย, ฮังการี, เยอรมันแบบสเวเบีย
ที่มีการใช้พูด:
โรมาเนีย, เซอร์เบีย, สโลวัก, รูซึน, โครเอเชีย, ฝรั่งเศส, บัลแกเรียแบบบานัต
เดมะนิมชาวบานัต
การปกครองสาธารณรัฐ
กรรมาธิการสูงสุด 
• 1918–1919
โอตโต โรต
สภานิติบัญญัติสภาประชาชน
ยุคประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
การปฏิวัติและการแทรกแซงในฮังการี (ค.ศ. 1918–1920)
• ประกาศจัดตั้ง
31 ตุลาคม – 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918
• ยุบเลิกรัฐบาล
20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1919
ประชากร
• ค.ศ. 1918
1,580,000
สกุลเงินโครนออสเตรีย-ฮังการี
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
ราชอาณาจักรฮังการี
บานัต บาชกา
และบาราญา
ราชอาณาจักรโรมาเนีย
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของโรมาเนีย
เซอร์เบีย
ฮังการี

สาธารณรัฐบานัต (เยอรมัน: Banater Republik; ฮังการี: Bánáti Köztársaság หรือ Bánsági Köztársaság; โรมาเนีย: Republica bănățeană หรือ Republica Banatului; เซอร์เบีย: Банатска република, Banatska republika) เป็นรัฐที่มีอยู่ เป็นเวลาสั้น ๆ ที่ประกาศจัดตั้งขึ้น ณ ตีมีชออารา เมื่อประมาณวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1918 ในระหว่างการล่มสลายของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี โดยสาธารณรัฐได้อ้างสิทธิ์เหนือดินแดนบานัตที่มีหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ ซึ่งเป็นความพยายามเพื่อหลีกเลี่ยงการแบ่งแยกดินแดนของลัทธิชาตินิยมที่กำลังแข่งขันกัน สาธารณรัฐได้รับการรับรองอย่างเปิดเผยจากชุมชนท้องถิ่นฮังการี สเวเบีย และยิว โดยมีนักสังคมนิยมเชื้อสายยิวโอตโต โรต ดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำแต่ในนาม อย่างไรก็ตาม แผนการนี้ก็เป็นที่ปฏิเสธอย่างเปิดเผยจากภายในชุมชนโรมาเนียและเซิร์บเช่นกัน รัฐบาลอายุสั้นได้รับการรับรองจากประเทศเพื่อนบ้านเดียวอย่างสาธารณรัฐประชาชนฮังการีเท่านั้น ซึ่งทางฮังการีมีจุดประสงค์เพื่อควบรวมฝ่ายบริหารของทั้งสองเข้าด้วยกัน สำหรับโครงสร้างทางทหารของสาธารณรัฐสืบต่อมาจากกองทัพสามัญ (Common Army) และอยู่ภายใต้การบัญชาการของนายทหารชาวฮังการีอ็อลแบรต บอร์ตอ

สาธารณรัฐสนับสนุนให้มีการก่อตัวขึ้นของแบบจำลองรัฐสวิสในยุโรปตะวันออก และประสงค์ให้มีความร่วมมืออย่างสันติระหว่างเชื้อชาติ ซึ่งเป็นทางเลือกแทนการแบ่งแยกดินแดน อำนาจรัฐบาลมีอยู่อย่างจำกัดเพียงแค่ในตีมีชออารา: ปานเชวอไม่เคยอยู่ในการควบคุมของสาธารณรัฐเลย ซึ่งเมืองแห่งนี้เป็นศูนย์กลางของรัฐบาลปกครองตนเองชาวเซิร์บ และสาธารณรัฐล้มเหลวในการควบคุมลูกอฌและการันเซเบชของโรมาเนียอย่างสมบูรณ์ ก่อนการสงบศึกของฮังการี บานัตถูกคุกคามผ่นการบุกครองของกองทัพดานูบฝรั่งเศส (Armée d'Orient) รัฐบาลโรตยังต้องเผชิญกับการกบฏชาวนาที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าฝ่ายทหารของสาธารณรัฐจะอ่อนแอ แต่ก็สามารถระงับการจราจลในเดนตา (Denta), เฟอเกต (Făget) และเคอร์พีนิช (Cărpiniș) ได้

ปลายเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ภูมิภาคทั้งหมดถูกราชอาณาจักรเซอร์เบียยึดครอง ซึ่งต่อมาในเดือนธันวาคมเปลี่ยนเป็นราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีนหรือ "ยูโกสลาเวีย" โรตยังคงเป็นผู้ว่าการภูมิภาคบานัต และสาธารณรัฐยังมีอยู่ต่อไปแต่ในนาม ภายหลังในเดือนมกราคม ฝรั่งเศสเข้าแทรกแซงภูมิภาคเพื่อป้องกันความขัดแย้งระหว่างยูโกสลาเวียและราชอาณาจักรโรมาเนีย สาธารณรัฐตกค้างนี้ยุบเลิกอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1919 ส่งผลให้เกิดความรุนแรงขึ้นอย่างมากมาย โรตหลบหนีการจับกุมและลี้ภัยไปยังอารัด ซึ่งที่นั่นเขาถูกกล่าวหาว่าได้ติดต่อกับผู้แทนของสาธารณรัฐโซเวียตฮังการี เขายังคงเสนอวิธีแก้ปัญหาสำหรับการปกครองตนเองของบานัต รวมถึงแผนที่จะนำภูมิภาคเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสด้วย ใน ค.ศ. 1920 บานัตถูกแบ่งแยกระหว่างยูโกสลาเวีย โรมาเนีย และฮังการี

มีการร่างแผนลับที่จะแบ่งแยกหรือเปลี่ยนบานัตเป็นสหพันธรัฐในช่วงต้นระหว่างสงคราม โดยเป็นที่นิยมอย่างยิ่งในหมู่ชาวสเวเบีย ก่อนหน้า ค.ศ. 1921 แนวคิดเรื่องเอกราชของบานัตถูกหยิบยกขึ้นมาโดยพรรคปกครองตนเองสเวเบีย (Autonomous Swabian Party) และโดยชาวสเวเบียเชื้อสายฝรั่งเศส; ชาวโรมาเนีย เช่น อัฟรัม อิมบรอยาเน และเปตรู กรอซา แสดงความเห็นอกเห็นใจต่อสิทธิและการกระจายอำนาจของชนกลุ่มน้อย แต่ไม่รับรองการปกครองตนเองของภูมิภาค กลุ่มติดอาวุธฝ่ายซ้ายจัดของกรอซาและโรตให้ความร่วมมือซึ่งกันและกันตลอดช่วงระหว่างสงคราม นโยบายปกครองตนเองโดยเน้นชาวสเวเบียเป็นศูนย์กลางถูกนาซีเยอรมนีหยิบยกขึ้นมาอีกครั้งในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งรัฐนาซีบานัต; นักเสรีนิยมชาวสเวเบีย อาทิ Stefan Frecôt ต่อต้านนโยบายนี้ และให้การสนับสนุนการปักปันเขตแดนอย่างสมบูรณ์ระหว่างชาวฝรั่งเศสและชางเยอรมันสเวเบีย ต่อมาจากนั้นหลายศตวรรษ ในโรมาเนียได้เห็นถึงการฟื้นตัวของแนวคิดแบ่งแยกดินแดนในทศวรรษ 2010 ซึ่งแนวคิดนี้เป็นความเกี่ยวข้องทางภูมิภาคมากกว่าชาติพันธุ์

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Carmen Albert, "Ocupația sârbă din Banat în memorialistica bănățeană", in Analele Banatului. Arheologie—Istorie, Vol. XIX, 2011, pp. 449–456.
  • Traian Birăescu, "Scrisori din Timișoara", in Cele Trei Crișuri, Vol. IX, November–December 1928, pp. 184–185.
  • Nicolae Brînzeu, Jurnalul unui preot bătrân. Timișoara: Eurostampa, 2011. ISBN 978-606-569-311-1
  • Anton Büchl, "Soziale Bewegungen in der Banater Ortschaft Detta 1875–1921", in Ungarn-Jahrbuch, Vol. VIII, 2000, pp. 223–254.
  • Dan N. Buruleanu, Liana N. Păun, Moravița. Album monografic. Timișoara: Editura Solness, 2011.
  • Ljubivoje Cerović, Sârbii din România. Din Evul mediu timpuriu până în zilele noastre. Timișoara: Union of Serbs of Romania, 2005. ISBN 978-973-98657-9-1
  • Adrian Cioroianu, Pe umerii lui Marx. O introducere în istoria comunismului românesc. Bucharest: Editura Curtea Veche, 2005. ISBN 973-669-175-6
  • Mariana Cojoc, "Cadrilaterul și 'Dobrogea Veche' în propaganda comunistă interbelică. 'Autodeterminare până la despărțirea de statul român'", in Dosarele Istoriei, Vol. VII, Issue 1 (65), 2002, pp. 50–54.
  • Rodica Colta, Doru Sinaci, Ioan Traia, Căprioara: monografie. Arad: Editura Mirador, 2011. ISBN 978-973-164-096-9
  • Vasile Dudaș, "Ștefan Frecot", in Analele Banatului. Arheologie—Istorie, Vol. XVI, 2008, pp. 359–363.
  • Vasile Dudaș, Lazăr Grunețeanu, "Contribuția avocaților bănățeni la activitatea consiliilor și gărzilor naționale românești în toamna anului 1918", in Studii de Știință și Cultură, Supplement: Colocviul Internațional Europa: Centru și margine. Cooperare culturală transfrontalieră, Ediția a VI-a, 19–20 octombrie 2017, Arad – România, 2017, pp. 131–148.
  • Ladislav Heka, "Posljedice Prvoga svjetskog rata: samoproglašene 'države' na području Ugarske", in Godišnjak za Znanstvena Istraživanja, 2014, pp. 113–170.
  • Gheorghe Iancu, Justiție românească în Transilvania (1919). Cluj-Napoca: Editura Ecumenica Press & George Bariț Institute, 2006. ISBN 973-88038-1-0
  • Lajos Kakucs,
    • "Gărzile civice și societățile de tir din Banat între anii 1717–1919", in Analele Banatului. Arheologie—Istorie, Vol. XXII, 2014, pp. 339–381.
    • "Contribuții la istoria francmasoneriei din Banat", in Analele Banatului. Arheologie—Istorie, Vol. XXIV, 2016, pp. 467–494.
  • Sándor Kókai, "Illúziók és csalódások: a Bánsági Köztársaság", in Közép-Európai Közlemények, Vol. 2, Issues 2–3, 2009, pp. 63–74.
  • Miodrag Milin, "Colaborarea româno–sârbă în chestiunea națională din monarhia dualistă", in Vasile Ciobanu, Sorin Radu (eds.), Partide politice și minorități naționale din România în secolul XX, Vol. V, pp. 20–30. Sibiu: TechnoMedia, 2010. ISBN 978-606-8030-84-5
  • James Minahan, Encyclopedia of the Stateless Nations. Ethnic and National Groups around the World. Santa Barbara & Denver: Greenwood Publishing Group, 2016. ISBN 978-1-61069-953-2
  • Ionela Moscovici, "Banatul în așteptarea păcii. Premisele unei misiuni franceze", in Analele Banatului. Arheologie—Istorie, Vol. XVIII, 2010, pp. 241–250.
  • Eusebiu Narai, "Aspecte privind situația minorității germane din județele Caraș și Severin în anii 1944–1948", in Analele Banatului. Arheologie—Istorie, Vol. XVI, 2008, pp. 309–331.
  • Mihai Adrian Panu, "Reprezentarea politică a minorității germane în Banatul interbelic", in Vasile Ciobanu, Sorin Radu (eds.), Partide politice și minorități naționale din România în secolul XX, Vol. V, pp. 118–127. Sibiu: TechnoMedia, 2010. ISBN 978-606-8030-84-5
  • Alexandru Pițigoi, "Problema Banatului la Conferința de pace de la Paris în documente britanice", in Magazin Istoric, July 2019, pp. 10–14.
  • Yovan Radonitch, The Banat and Serbo–Roumanian Frontier Problem. Paris: Ligue des Universitaires Serbo-Croato-Slovènes, 1919. OCLC 642630168
  • I. D. Suciu, "Banatul și Unirea din 1918", in Studii. Revistă de Istorie, Issue 6/1968, pp. 1089–1104.
  • Tudor-Radu Tiron, "O contribuție heraldică la istoria înaintașilor omului politic Andrei Mocioni de Foen (1812–1880), membru fondator al Academiei Române", in Revista Bibliotecii Academiei Române, Vol. 1, Issue 1, January–June 2016, pp. 27–51.
  • Dumitru Tomoni, "Contribuții bănățene la Marea Unire", in Analele Banatului. Arheologie—Istorie, Vol. XVI, 2008, pp. 289–299.
  • Smaranda Vultur, Francezi în Banat, bănățeni în Franța. Timișoara: Editura Marineasa, 2012. ISBN 978-973-631-698-2